วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิวัฒนาการ เทคโนโลยี


   ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนบางคนอาจจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน และสำหรับคนที่มีอายุมากกว่า  20 ปี ก็คงจะได้เห็นพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่เทคโนโลยี พัฒนาไปได้เร็วมากที่สุด วันนี้ทางเราจึงขอชวนทุกคนมาดูวิวัฒนาการของ 6 เทคโนโลยีจากอดีตสู่ปัจจุบันว่าจะเปลี่ยนแปลงไปได้มากแค่ไหน ส่วนคนที่เกิดไม่ทันก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันเลย


1. โทรศัพท์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิวัฒนาการ โทรทัศน์



 โทรศัพท์ในสมัยก่อนจะมีไซส์ที่ค่อนข้างใหญ่มาก และถ้าจะพกไปไหนมาไหนก็ถึงขั้นต้องแบกกันเลยทีเดียว หลังจากนั้นผู้ผลิตก็เริ่มพัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงจนสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวกขึ้น และได้ฉายาใหม่ว่า “ มือถือ ”  รวมทั้งพัฒนาจากหน้าจอที่เป็น ขาว-ดำ ให้เป็นหน้าจอที่มีสีสันสดใสอีกด้วย แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟนก็เริ่มพัฒนาให้มีหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น ลดปุ่มกดให้เล็กลง แถมยังใช้แอปพลิเคชัน และเล่นอินเทอร์เน็ตได้อีกต่างหาก จนถึงขนาดที่ปัจจุบันสามารถทำทุกอย่างได้ในมือถือเครื่องเดียว


2. โทรทัศน์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิวัฒนาการ โทรทัศน์





   วิวัฒนาการของโทรทัศน์นั้น จะเริ่มจากจอแก้วขาวดำเครื่องใหญ่จอเล็กและหนาเตอะ ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นโทรทัศน์เริ่มมีสีสันมากขึ้น ตามมาด้วยการทำให้จอที่หนาเตอะแบนลง  จนกระทั่งถูกพัฒนามาจนถึงจอ LCD/LED ในปัจจุบัน พร้อมทั้งพัฒนาให้มีขนาดหน้าจอและความละเอียดที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งจอ 3D และใช้อินเทอร์เน็ตได้ หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันก็ยังใช้ได้ จนปัจจุบันยังสามารถเชื่อมต่อกับทั้งโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นอีก


3.กล้องถ่ายรูป



   วิวัฒนาการของกล้องนั้น เมื่อก่อนจะเป็นกล้องฟิล์มเพราระใช้ฟิล์มในการเก็บภาพ ฟิล์ม 1 ม้วนจะถ่ายได้แค่ 30 กว่ารูป ถ่ายเสร็จต้องไปให้ร้านถ่ายรูปอัดรูปให้ และใช้เวลาถึง 1 อาทิตย์กว่าจะได้รูปมาดู แต่ถ้ารูปออกมาไม่สวยก็ต้องทำใจกันไป เพราะตอนถ่ายมันดูตัวอย่างไม่ได้ แต่ปัญหานี้ก็หมดไปเมื่อเข้าสู่ยุคกล้องดิจิทัล ไม้ต้องง้อฟิล์มอีกต่อไป และสามารถเก็บรูปลงเมมโมรี่ ที่มีความจุมากขึ้น และดูรูปภาพตัวอย่างได้ก่อน ถ้าถ่ายแล้วไม่ถูกใจก็ลบทิ้งถ่ายใหม่ได้เรื่อยๆ และล่าสุดกล้องถ่ายรูปก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ถ่ายรูปแล้วแชร์บนโซเชียลได้ทันที

4.เครื่องเล่นเกม



   สมัยเด็กๆ ใครที่ชอบเล่นเกมก็น่าจะได้สัมผัสเกมในยุคที่ยังใช้ตลับกันอย่างแน่นอน แถมจอยเกมก็มีปุ่มให้กดเพียงไม่กี่ปุ่มเท่านั้น แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป จากที่เป็นตลับก็เปลี่ยนมาใช้แผ่น Optical Disc จอยก็เริ่มมีก้านอนาล็อกเริ่มมีปุ่มให้ได้บังคับกันมากขึ้นพร้อมกับกราฟฟิกที่ถูกพัฒนาให้สวยงามและสมจริงมากยิ่งขึ้น จนปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยี VR ที่เข้ามาประกอบทำให้การเล่นเกมนั้นสมจริงราวกับว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของเกมจริงๆ

5.เก็บสื่อบันเทิง




  สมัยก่อนการบันทึกสื่อหรือข้อมูล เช่น ภาพยนตร์หรือเพลงจะบันทึกลงในม้วนเทปที่เป็นระบบมือหมุน เชื่อว่าคนที่เป็นวัยรุ่นในยุค 90 นั้น จะต้องเคยเอาดินสอมากรอม้วนเทปกันแน่นอน  แต่เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วการบันทึกข้อมูลในม้วนเทปก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบแผ่น Optical Disc (CD/DVD/Blu-ray) และล่าสุดก็มีการดูหนังฟังเพลงแบบออนไลน์กันแล้ว จริงๆ แล้วเคยมีแผ่น MD ของโซนี่ด้วยนะ แต่หลายคนอาจจะลืมกันไปแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ได้สร้างผลกระทบกับธุรกิจหลายธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก อาทิ ร้านเช่าวีดีโอ หรือร้านขายแผ่นซีดีเพลง เนื่องจากปัจจุบันแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถดูหนังฟังเพลงกันได้แบบไม่ต้องซื้อแผ่นมาเก็บไว้เป็นตั้งๆแล้ว

6. เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์



วัฒนาการของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์นั้น เริ่มมาตั้งแต่การเก็บในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่มโหฬาร และราคาที่แพงมาก แต่มีความจุอันน้อยนิด ราวกับซื้อสนามบินมาไว้เพื่อเก็บจักรยาน รวมทั้งแผ่น Floppy Disk ความจุ 1.44 MB สุดคลาสสิกที่เคยใช้กันอย่างแพร่หลาย ลองเทียบกับยุคปัจจุบันที่มีความจุ 128 GB แต่มีขนาดเล็กแค่ปลายนิ้วมือ แถมยังพัฒนาจนกระทั่งมีระบบ Cloud ที่สามารถเก็บไฟล์ได้มหาศาลและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกสถานที่เพียงแต่มีอินเทอร์เน็ตอีกด้ว

เทคโนโลยีอวกาศ



   อวกาศ หมายถึงพื้นที่บนท้องฟ้าเหนือพื้นโลกขึ้นไป 200 กิโลเมตร (อ้างอิงจาก ESA : European Space Agency) ซึ่งพ้นจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกของเราเอาไว้ครับ
   ในอวกาศไม่มีอากาศที่สามารถกระเจิงแสงอาทิตย์ (Scattering of light) ให้เรามองเห็นเป็นสีน้ำเงินเหมือนในเขตบรรยากาศของโลกได้ ในอวกาศนั้นจึงมืดมิดเป็นสีดำที่เต็มไปด้วยแสงจากดาวฤกษ์นับล้าน ๆ ดวงในเอกภพ สภาพสุญญากาศในอวกาศทำให้เราไม่สามารถพูดคุยกันได้ เพราะว่าคลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางในสุญญากาศได้
   ก่อนหน้านี้เรามักคิดว่าอวกาศคือความว่างเปล่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่องว่างในระหว่างดวงดาวมากมายในอวกาศนั้นกลับเต็มไปด้วยฝุ่นและแก๊สจำนวนมากครับ แม้แต่ส่วนที่ว่างที่สุดก็ยังเต็มไปด้วยอะตอมและโมเลกุลต่าง ๆ รวมถึงรังสีต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศ ตัวอย่างเช่น รังสีอินฟราเรดและอัลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา รังสีคอสมิก นอกจากนี้ยังมีอนุภาคต่าง ๆ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสงอีกด้วย
ทำไมต้องสำรวจอวกาศ?
   ก็เพราะธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ย่อมมีความอยากรู้อยากเห็น อยากรู้เรื่องราวของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อยากรู้อดีตและอนาคตของตัวเอง การคาดเดาเรื่องราวของตัวเรานี้ เราอาจคาดเดาได้จากประสบการณ์ การเรียนรู้ การสังเกตคนอื่นที่อยู่รอบตัวเรา แล้วนำมาอนุมานได้ว่าตัวเราเคยเป็นอย่างไรและอนาคตจะเป็นอย่างไร




Earth
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โลก
   ซึ่งการเรียนรู้ความเป็นมาและเป็นไปของโลกก็เช่นเดียวกันครับ เมื่อไม่มีใครเกิดมาทันเห็นการกำเนิดโลก มนุษย์เราจึงต้องศึกษาและเรียนรู้โลกของเรา จากการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวดวงอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับโลกว่ากำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร และในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป

ยุคแห่งการบุกเบิกอวกาศ
   การส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputnik 1) เมื่อปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก และเป็นยานอวกาศลำแรกในโครงการสปุตนิก ดำเนินการโดยสหภาพโซเวียต (รัสเซียขณะนั้น) นับเป็นยุคบุกเบิกสู่การแข่งขันทางอวกาศ โดยในช่วงตลอด 50 กว่าปีที่ผ่านมา มนุษย์มีการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางอวกาศอย่างต่อเนื่อง
   แต่ในช่วงหลังนั้น การสำรวจอวกาศไม่ใช่การสำรวจเพื่อแข่งขันและชิงความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีอวกาศ แต่เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อร่วมสำรวจอวกาศ เช่นการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station : ISS) และสั่งสมองค์ความรู้เกี่ยวกับอวกาศและดาราศาสตร์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต เช่น การสื่อสารผ่านดาวเทียม การสำรวจทรัพยากรโลก เป็นต้น

จรวด (Rocke)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จรวด
การเดินทางสำรวจอวกาศนั้น ส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งดาวเทียมหรือยานสำรวจอวกาศทะยานพ้นเขตแรงดึงดูดของโลกและเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศได้ก็คือ “จรวด” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ ขึ้นสู่อวกาศ การจะขึ้นไปสู่อวกาศได้นั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกก่อนที่จะเคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรของโลกหรือเคลื่อนที่ออกสู่อวกาศ
จรวด ทำงานตามกฎของนิวตันข้อที่ 3 ที่กล่าวไว้ว่า “แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา” โดยจรวดจะปล่อยแก๊สร้อนออกทางท่อท้ายด้านล่าง (แรงกิริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ขึ้นไปด้านบน (แรงปฏิกิริยา)
สิ่งสำคัญที่ทำให้จรวดมีแรงขับเคลื่อนได้ คือ เชื้อเพลิง ซึ่งความหมายของเชื้อเพลิงในที่นี้ไม่ใช่เชื้อเพลิงปกติที่เราใช้กับเครื่องยนต์ทั่วไป แต่หมายรวมถึงทั้งเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวอ็อกซิไดซ์ การสันดาปในเครื่องยนต์ทั่วไปจะใช้ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศรอบ ๆ เครื่องยนต์ แต่ในกรณีของจรวด จะต้องมีถังบรรจุออกซิเจนติดไปกับจรวดด้วย เนื่องจากในอวกาศไม่มีอากาศซึ่งเป็นแหล่งออกซิเจน
เราสามารถจำแนกประเภทจรวดออกเป็น 2 ประเภท ตามชนิดของเชื้อเพลิง ดังนี้



จรวดเชื้อเพลิงแข็ง (Solid-propellant rocket)
   เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นแท่งเชื้อเพลิงแข็งซึ่งเป็นสารประกอบของไฮโดรเจนและคาร์บอน ส่วนตัวออกซิไดส์ เป็นสารประกอบออกซิเจน
   จรวดมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ตรงกลางจะเป็นช่องว่างซึ่งเป็นพื้นผิวส่วนที่เผาไหม้ เมื่อเชื้อเพลิงเกิดการเผาไหม้ขึ้นแล้วจะไม่สามารถหยุดได้จนกว่าเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้หมด



จรวดเชื้อเพลิงเหลว (Liquid-propellant rocket)
   เชื้อเพลิงที่ใช้คือ เคโรซีน (kerosene) หรือไฮโดรเจนเหลว ส่วนตัวออกซิไดซ์คือออกซิเจนเหลว จรวดประเภทนี้เป็นจรวดที่มีโครงสร้างซับซ้อนเพราะจำเป็นต้องมีถังเก็บเชื้อเพลิงเหลว และถังเก็บออกซิเจนเหลวแยกออกจากกันและเพื่อให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย จึงต้องมีท่อและปั๊มเพื่อลำเลียงเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อทำการเผาไหม้ จรวดเชื้อเพลิงเหลวสามารถควบคุมปริมาณการไหม้และปรับทิศทางของกระแสแก๊สได้
เทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา


เทคโนโลยีการศึกษา

แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี
   
    เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย    มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)

                 
   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม


ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)

              
1.   เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
              
2.  เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
              
3.  เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
              สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology) ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ของค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสด

บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์

เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ ส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
 ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1.       องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2.       การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3.       วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4.       กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5.       ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84) คือ
1.       ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.       ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.       ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

        เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้

กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง

วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517) ด้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
 กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)
3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย

โคลีแครดเลอร์และ เอ็นเจล (Coley, Cradler, and Engel 1996) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้ว เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้ว คำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ฟิล์มสทริป เครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์ และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.. 2523 – 2532 (ทศวรรษ 1980s) จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
              จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

                สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6)

มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น

มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ

มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดียและโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่

เทคโนโลยีทางการสอน

เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1.       เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2.       ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.       มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4.       ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา

แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
·       โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
·       บทเรียนสำเร็จรูป
·       การสอนเป็นคณะ
·       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ความพร้อม (Readiness) ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่
·       ชุดการเรียนการสอน
·       ศูนย์การเรียน
3. เวลาที่ใช้ในการศึกษา นวัตกรรมที่สนองความคิดนี้ ได้แก่
·       ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น
·       มหาวิทยาลัยเปิด
·       การเรียนทางไปรษณีย์
4. การขยายตัวด้านวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ทำให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น ได้แก่
·       ดาวเทียมเพื่อการศึกษา
·       มหาวิทยาลัยเปิด
·       การศึกษาทางไกล
·       การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต  

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม

คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ